บุคลากรดีพร้อมภาคที่ 6 ร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรม สืบสานประเพณีรำบวงสรวงท้าวสุรนารี (ย่าโม) ประจำปี 2565


09 เม.ย. 2565    นิรันดร์    6

 

 "บุคลากรดีพร้อมภาคที่ 6 ร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรม สืบสานประเพณีรำบวงสรวงท้าวสุรนารี (ย่าโม) ประจำปี 2565"

            วันเสาร์ที่ 9 เมษายน 2565 เวลา 17.30 น.

  นางคนึงนิจ ทยายุทธ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 และคณะนางรำ บุคลากรดีพร้อมภาคที่ 6

 รวมจำนวน 11 คน ประกอบด้วย
 นางสาวประภาวดี มีนาเขตร ผู้อำนวยการกลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ
 นางชนันนัทธ์ ช้างหมื่นไวย นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการ
 นางจารุวรรณ เอ็นดู เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน
 นางสุนันทา ปราโมช ณ อยุธยา นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ
 นางษรภัช แปวกระโทก พนักงานพิมพ์ ส.4
 นางนินเนตร ปุ้มกระโทก นักวิชาการอุตสาหกรรม
 นางสาวรัชนก พรมสูงเนิน เจ้าหน้าที่วิเคราะห์โครงการ
 นางสาววิศนีย์ ขวัญสูงเนิน เจ้าหน้าที่วิเคราะห์โครงการ
 นางสาวชาติรส ชุ่มศรี เจ้าหน้าที่บริหารสินเชื่อ
 นางสาวแววมณี เกตแสนสี เจ้าหน้าที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมด้านบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ

  ร่วมกิจกรรมประเพณีรำบวงสรวงท้าวสุรนารี(ย่าโม) องค์ประจำอำเภอสูงเนิน ประจำปี 2565

  โดยมีนายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานในพิธี
  มีผู้รำเป็นสตรี รวมจำนวน 340 คน ร่วมประกอบพิธีรำบวงสรวงถวายคุณย่าโม ทั้งนี้ เพื่อเป็นการรำลึกถึงวีรกรรมของท้าวสรุนารี หรือคุณย่าโม โดยการรำบวงสรวงเป็นการนำท่ารำในรูปแบบนาฏศิลป์ไทยมาตรฐาน และท่ารำในรูปแบบศิลปะพื้นบ้านโคราชมากำหนดเป็นท่ารำในครั้งนี้ พร้อมทั้งนำทำนองเพลง และเนื้อร้องมาผสมกับดนตรีมโหรีโคราช ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่น แบ่งออกเป็น 4 ช่วง

โดย ช่วงแรก กระบวนท่าออกด้วยเพลงมอญพิมาย ที่มีจังหวะสนุกสนานเร้าใจ สะท้อนให้เห็นถึงการร่วมแรงร่วมใจกันของสตรีชาวนครราชสีมา เพื่อร่วมในงานอันเป็นมงคล

ช่วงที่ 2 เป็นการรำบทเพื่อเทิดพระเกียรติ พระบรม ดชานุภาพของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พระบรมราชินี ด้วยเพลงลมพัดชายเขา

ช่วงที่ 3 เป็นการตีบทเพลงทำนองสรภัญญะ เพื่อสดุดีวีรกรรมท่านท้าวสุรนารี

และช่วงที่ 4 เป็นท่ารำประกอบกับท่วงทำนองเพลง พื้นบ้านโคราช แสดงถึงการเฉลิมฉลองอย่างสนุกสนานรื่นเริงของสตรีชาวนครราชสีมา โดยหญิงสาวผู้รำทุกคนต่างมีทวงท่าการรำเป็นไปอย่างพร้อมเพียงด้วยความอ่อนช้อยสวยงาม

   ในปีนี้ผู้รำทุกคนสวมใส่ชุดไทย ที่ทอจากผ้าเงี่ยงนางดำ สีกลีบบัว และสีอื่นๆ ที่มีสีสันสวยงามงดงาม เช่น สีส้ม สีเขียว สีแดง สีเหลือง และ  สีฟ้า เป็นต้น ซึ่งผ้าเงี่ยงนางดำ เป็นผ้าทออัตลักษณ์ของชาวอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ที่ต้องการสืบทอดและอนุรักษ์ผ้าพื้นเมืองของบรรพบุรุษ

  การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปตามมาตรการคัดกรองเชื้อไวรัส จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19