ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 6 กับ โมเดลชุมชนดีพร้อม (บริษัท แดร่่โฮม วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด)


20 ก.ค. 2566    นิรันดร์    5

บริษัท แดรี่โฮม วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด ตั้งอยู่ที่  100/1 หมู่ 11 ตำบลพญาเย็น อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 30320 ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2542 โดยคุณพฤฒิและคุณพรธิดา เกิดชูชื่น กรรมการผู้จัดการ เริ่มต้นธุรกิจตั้งแต่ร้านอาหารเล็กๆ และโรงงานนมสไตล์โฮมเมด เรามุ่งมั่นที่จะสร้างผลิตภัณฑ์นมที่อร่อยและมีคุณค่าทางโภชนาการด้วยจึงนมสนใจในธุรกิจการผลิตนมออร์แกนิคซึ่งถือเป็นผู้ผลิตนมออร์แกนิครายแรกของประเทศไทย

แนวคิดในการดำเนินธุรกิจที่มุ่งเน้นความสุขและความรับผิดชอบต่อสังคมสิ่งแวดล้อมไม่ได้เป็นมุ่งที่กำไรสูงสุด ปัจจุบันมีพนักงาน 98 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนท้องถิ่น การเติบโตของแดรี่โฮม ในรอบเกือบ 20 ปี อาจเป็นข้อพิสูจน์ถึงการเติบโตของกลุ่มผู้บริโภคที่หันมาดูแลสุขภาพและดูแลสิ่งแวดล้อม นอกจากการมุ่งเน้นการทำฟาร์มโคนมออร์แกนิกแล้วยังมีการนำนวัตกรรมการผลิตโดยร่วมกับสถาบันการศึกษา นำไปใช้ในการดูแลสิ่งแวดล้อมด้วยและประหยัดการใช้พลังงาน อาทิเช่น    บ่อน้ำฝน ,ระบบโซล่าร์เทอร์มอล,กังหันลมระบบอัดอากาศ และแดรี่โฮมมีการจัดการสิ่งแวดล้อม Water Footprint , Carbon Footprint , Zero Wastes , Zero Discharge และได้รับรางวัลอุตสาหกรรมสีเขียวระดับที่ 5 ถือเป็นระดับสูงสุด

     

ส่วนด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ แดรี่โฮมฯ ได้ร่วมมือกับทั้งสถาบันการศึกษาและภาครัฐ อาทิเช่น มหาวิทยาลัยสุรนารี, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (iTAP), สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ(NIA) ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคจำนวนมาก ซึ่งสามารถสังเกตได้จากผลิตภัณฑ์ของแดรี่โฮมที่มีคุณสมบัติเฉพาะ อาทิเช่น นมกราสเฟด เป็นนมที่มีโอเมก้า 3 และ CLA ช่วยเรื่องความจำ , นมก่อนนอน เป็นนมที่มีเมลาโทนิน ช่วยในเรื่องอาการนอนไม่หลับและป้องกันอัลไซเมอร์, โยเกิร์ตและนมอัดเม็ดสูตรป้องกันฟันผุ มีโปรไบโอติกสำหรับป้องกันฟันผุ

   

ในแง่ของการทำงานเพื่อชุมชนแดรี่โฮมได้ทำงานเพื่อสังคมส่วนรวมมากมายหลายประการ อาทิเช่น ตั้งแต่ปี 2551 ริเริ่มโครงการอนุรักษ์ลำน้ำมวกเหล็กร่วมกับมูลนิธิกระต่ายในดวงจันทร์ สร้างจิตสำนึกการรักสิ่งแวดล้อมกับผู้นำเยาวชนชาวมวกเหล็ก จนพัฒนาไปสู่การทำโครงการฝายชะลอน้ำแห่งที่ 1 กลายเป็นแอ่งน้ำลึกด้านบนพื้นที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ชญ.16 มวกเหล็กใน และกลายเป็นน้ำตกที่สวยงามขึ้น อีกหนึ่งความภาคภูมิใจของโครงการอนุรักษ์ลำน้ำมวกเหล็กน้ำจากฝายนี้เจ้าหน้าที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ชญ.16 มวกเหล็กใน ใช้รดน้ำกล้าไม้ได้เป็นล้านๆ ต้นโดยไม่ต้องใช้เครื่องสูบน้ำ สร้างฝ้ายชะลอน้ำที่ลำน้ำมวกเหล็กร่วมกับชุมชนบริษัท แดรี่โฮม วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด ได้จัดทำทั้งสิ้นจำนวน 3 ฝายเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ การขาดน้ำในฤดูแล้ง เพื่อใช้เป็นแหล่งน้ำสำหรับหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่พักผ่อนหย่อนใจแก่ชุมชนและประชาชนทั่วไป ทั้งนี้ในปัจจุบันยังมีการใช้ประโยชน์ฝายทั้ง 3 อย่างต่อเนื่อง สามารถฟื้นฟูความสมบูรณ์ตามธรรมชาติ ทั้งดิน น้ำลม ฟ้า อากาศ เติมวาดชุบชีวิตคน จนตัวตะกอง (Chinese water dragon) สัตว์ซึ่งเป็นตัวแทนสัญลักษณ์แสดงความสมบูรณ์แห่งลำน้ำกลับมา แสดงถึงลำน้ำมีความสมบูรณ์มาก ป่าเริ่มฟื้นคืนสู่สภาพปกติ

     

 

     

     คาดการณ์มูลค่าทางเศรษฐกิจที่ได้รับจากการเข้าร่วมโมเดลชุมชนดีพร้อม 64,630,173 บาทต่อปี

กิจกรรมของดีพร้อมฮีโร่กับดีพร้อม

  • โครงการจัดการพลังงานแบบสมบูรณ์เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการใช้พลังงานสำหรับอุตสาหกรรม (Total Energy Management(การจัดการพลังงานแบบสมบูรณ์เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการใช้พลังงานสำหรับอุตสาหกรรม) ปีงบประมาณ พ.ศ.2555 หน่วยงานที่ดำเนินงาน ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6
  • โครงการการวางระบบมาตรฐานการจัดการพลังงาน ISO 5001:2011 กรณี บจก.แดรี่โฮม ปีงบประมาณ พ.ศ.2557 หน่วยงานที่ดำเนินงาน ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 มูลค่าทางเศรษฐกิจ 3,000,000 บาทต่อปี
  • โครงการการพัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์โคนม ปีงบประมาณ พ.ศ.2559 หน่วยงานที่ดำเนินงาน ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6
  • โครงการเพิ่มประสิทธิภาพของวิสาหกิจและพัฒนาศักยภาพบุคลากรอุตสาหกรรม(นครราชสีมา) ปีงบประมาณ พ.ศ.2561 หน่วยงานที่ดำเนินงาน ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6
  • กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเซนเซอร์และสมองกลฝังตัว (PLC) สำหรับหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรมเบื้องต้น ปีงบประมาณ พ.ศ.2562 หน่วยงานที่ดำเนินงาน กองนวัตกรรมอุตสาหกรรม
  • โครงการส่งเสริมสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SHAP) ปีงบประมาณ พ.ศ.2562
  • โครงการ/กิจกรรมการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป ปีงบประมาณ พ.ศ.2563 หน่วยงานที่ดำเนินงาน ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 มูลค่าทางเศรษฐกิจ 530,173 บาทต่อปี
  • โครงการให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อส่งเสริมและพัฒนาเอสเอ็มอีแบบเฉพาะราย ปีงบประมาณ พ.ศ.2563 หน่วยงานที่ดำเนินงาน ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ ๖ มูลค่าทางเศรษฐกิจ 2,400,000 บาทต่อปี
  • โครงการการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพ SMEs ให้รองรับการเปลี่ยนแปลง ปีงบประมาณ พ.ศ.2563 หน่วยงานที่ดำเนินงาน ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6
  • กิจกรรมการพัฒนาการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรม (Cluster) – คลัสเตอร์เกษตรแปรรูปและอาหารแปรรูป จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ภายใต้โครงการการยกระดับสินค้าเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรม  ปีงบประมาณ พ.ศ.2565 หน่วยงานที่ดำเนินงาน ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6