ดีพร้อม เซ็นเตอร์ 6 ลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์โครงการการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม ซอฟต์พาวเวอร์ไทย
”DIProm Center 6 “ ลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์โครงการการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม ซอฟต์พาวเวอร์ไทย วันจันทร์ที่ 23 กันยายน 2567 นางคนึงนิจ ทยายุทธ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 มอบหมายให้ นางน้อมจิต มามะเริง นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการพิเศษ พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 6 ลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์โครงการในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ไทย สาขาอาหาร โครงการพัฒนาร้านอาหารเชฟชุมชน อาหารถิ่น อาหารไทย Local Chef Restaurant และโครงการหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งเชฟอาหารไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ในวันที่ 23 กันยายน 2567 ณ หอประชุมอำเภอสีดา อำเภอสีดา จังหวัดนครราชสีมา ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนอำเภอสีดา จ.นครราชสีมา และประชาสัมพันธ์การบริการของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 ซึ่งมีสมาชิกกองทุนหมู่บ้านเข้าร่วมรับฟัง จำนวน 100 คน
23 ก.ย. 2567
DIPROM CENTER พัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ผ่านกลไกศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม
DIPROM CENTER 6 ดำเนินกิจกรรม พัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ผ่านกลไกศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม - ภายใต้โครงการ 4.2-1 ยกระดับศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่ความยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาหรือต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าสูงขึ้นสามารถออกสู่เชิงพาณิชย์ได้ และให้เป็นที่ต้องการหรือตอบสนองความต้องการของตลาดหรือผู้บริโภคได้ กลุ่มเป้าหมาย วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ผล Success Case ผลิตภัณฑ์ที่ได้เข้าร่วมโครงการ/กิจกรรม สุพัตราปลาร้าทอดสมุนไพร ที่อยู่ ต.หัวทะเล อ.เมือง จ.นครราชสีมา ผลิตภัณฑ์หลัก ผลิตและจำหน่ายปลาร้าทอดสมุนไพร ผลที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการ นำปลาร้าทอดสมุนไพรสูตรดั้งเดิมมาพัฒนาต่อยอดโดยการเพิ่มรสชาติ เป็นปลาร้าทอดสมุนไพรแจ๋วแซ่บ ขยายโอกาสได้ตลาดเจาะกลุ่มลูกค้าใหม่ทั้งเด็กและผู้ใหญ่การพัฒนายังช่วยยืดอายุผลิตภัณฑ์ส่งผลให้สามารถจำหน่ายในช่องทางใหม่และไปได้ไกลมากยิ่งขึ้นเป็นของฝากจากจังหวัดนครราชสีมา และมีโอกาสขยายสู่การส่งออกต่างประเทศ ช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าในท้องถิ่น และช่วยสร้างแรงงานในชุมชนเพิ่มขึ้น ส่งเสริมองค์ความรู้และให้คำปรึกษาแนะนำการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในด้านต่างๆ โดยใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี การประยุกต์หรือต่อยอดงานวิจัยเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ สินค้า เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการ อันจะเป็นการสร้างเข้มแข็งและเพิ่มขีดความสามารถต่อการดำเนินธุรกิจต่อไป
23 ก.ย. 2567
DIPROM CENTER 6 ✨ บริการด้วยใจ โค้ชธุรกิจให้ครบวงจร✨
DIPROM CENTER 6 บริการด้วยใจ โค้ชธุรกิจให้ครบวงจร วันที่ 19 กันยายน 2567 ศูนย์บริการธุรกิจอุตสาหกรรมดีพร้อม (DIPROM Business Service Center: DIPROM BSC) นางคนึงนิจ ทยายุทธ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 มอบหมายให้ นางสาวกมลรัตน์ ศรีประเสริฐ นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการ นางสาววิสสุตา อำพลผล นักวิชาการอุตสาหกรรมปฏิบัติการ นางสาววรพรรณ ขอคำ นักวิชาการอุตสาหกรรม นางสาวสุธาสินี จันทสิริพงศ์ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานฯ และ นายสมพล ป้ำกระโทก พนักงานขับรถยนต์ราชการ ลงพื้นที่บริการข้อมูลธุรกิจและให้คำปรึกษาแนะนำในการประกอบธุรกิจ ด้านการตลาดออนไลน์ และประชาสัมพันธ์การให้บริการของศูนย์ ให้แก่ผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 2 กิจการ ได้แก่ 1. ร้านลูกกระเทียม อ.สูงเนิน 2. ร้านผัดหมี่โคราชป้าแวว อ.สีคิ้ว
19 ก.ย. 2567
ดีพร้อม เซ็นเตอร 6 ลงพื้นที่บริการ&พบปะชุมชน อ.หนองบุญมาก จ.นครราชสีมา
DIProm Center 6 ลงพื้นที่บริการ&พบปะชุมชน อ.หนองบุญมาก จ.นครราชสีมา วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน 2567 นางคนึงนิจ ทยายุทธ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 มอบหมายให้ เจ้าหน้าที่ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 6 (DIPROM CENTER 6) ลงพื้นที่จังหวัดสัญจรให้บริการประชาชน ร่วมกับหน่วยงานราชการต่างๆ ภายในจังหวัดนครราชสีมา ณ รร.บ้านซับตะคร้อ ต.ไทยเจริญ อ.หนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา ทั้งนี้เพื่อแนะนำบริการของ DC6 ได้แก่ ให้คำปรึกษาแนะนำงานเงินทุนหมุนเวียน บริการออกแบบผลิตภัณฑ์ และ งานฝึกอาชีพชุมชนการทำเหรียญโปรยทาน ให้แก่ชุมชนอำเภอหนองบุญมาก ในงานโครงการท้องถิ่นสัมพันธ์ "เสริมสร้างความจงรักภักดีต่อสถาบัน บำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างรอยยิ้ม ให้กับประชาชน" ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยมี นายวิจิตร กิจวิรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานเปิดงาน ทั้งนี้ภายในงานมีประชาชนทั้งจากภาคครัวเรือน และจากหน่วยงานราชการให้ความสนใจในการให้บริการปรึกษาแนะนำเบื้องต้นของ จนท.ดีพร้อมเซ็นเตอร์ 6 เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังได้เข้าประชาสัมพันธ์ กิจกรรมและบริการของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 แก่วิสาหกิจชุมชนสบู่สมุนไพรบ้านสุภา ต.หนองบุญมาก อ.หนองบุญมาก จ.นครราชสีมา และ กลุ่มสานเส้นพลาสติก
19 ก.ย. 2567
ดีพร้อม เซ็นเตอร์ 6 จัดฝึกอบรม “พัฒนาทักษะการขายแบบมืออาชีพสำหรับองค์กร”
DIPROM CENTER 6 จัดฝึกอบรม “พัฒนาทักษะการขายแบบมืออาชีพสำหรับองค์กร” ระหว่างวันที่ 18-19 กันยายน 2567 นางคนึงนิจ ทยายุทธ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 มอบหมายให้คณะทำงานโครงการ SHAP จัดฝึกอบรม หลักสูตร “พัฒนาทักษะการขายแบบมืออาชีพสำหรับองค์กร” กิจกรรมการส่งเสริมพัฒนาผลิตภาพควบคู่กับการสร้างสุขภาวะองค์กร ภายใต้โครงการส่งเสริมสุขภาวะองค์กรในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตามแนวมาตรฐานองค์กรแห่งความสุข ประจำปี 2567 ณ บริษัท เหล็กฟ้าใส จำกัด รายละเอียดการฝึกอบรม ทิศทาง กลยุทธ์ วิสัยทัศน์ สู่การแข่งขันธุรกิจในอนาคต ความต้องการของลูกค้า คู่แข่งขันในตลาด สภาพปัญหาที่พบเจอ พฤติกรรมผู้บริโภค การแข่งขันในโลกธุรกิจ สู่การสร้างโอกาสทางการตลาดที่แตกต่างและสร้างกำไร การสร้าง Growth Mindset ของนักขายที่ประสบความสำเร็จ การยกระดับงานขายของทีมให้ประสบความสำเร็จ วัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม เพื่อให้บุคลากรมีความรู้และทักษะการขายที่เป็นเลิศ พร้อมทั้งสามารถปรับกลยุทธ์องค์กรให้ก้าวทันต่อการแข่งขันทางธุรกิจยุคใหม่ ผลลัพธ์จากการฝึกอบรม ทีมขายสามารถวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าได้ถูกต้อง พร้อมเข้าใจวิธีในการสร้างโอกาสในการเจรจาธุรกิจ และปิดการขายได้อย่างมืออาชีพ รวมทั้งองค์กรสามารถวางกลยุทธ์ที่ได้เปรียบในการขยายตลาดและเพิ่มยอดขายให้ธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เข้าอบรมทั้งสิ้น 25 คน วิทยากรโดย ดร.คำนาย อภิปรัชญาสกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน รายชื่อเจ้าหน้าที่ ที่จัดฝึกอบรม ประกอบด้วย นางวารุณี ผ่องแผ่ว นักวิชาการอุตสาหกรรม นายยุทธนา เพชรน้อย นักวิชาการอุตสาหกรรม และ นายปรีชา สิงหลสาย พนักงานขับรถยนต์ราชการ
18 ก.ย. 2567
DIPROM CENTER 6 +++ เดินหน้าส่งเสริมพัฒนาต่อยอดทักษะอาชีพดีพร้อม อย่างต่อเนื่อง ด้วยการตลาดออนไลน์ +++
DIPROM CENTER 6 เดินหน้าส่งเสริมพัฒนาต่อยอดทักษะอาชีพดีพร้อม อย่างต่อเนื่อง ด้วยการตลาดออนไลน์ วันที่ 16 กันยายน 2567 นางคนึงนิจ ทยายุทธ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “ตลาดชุมชนสู่ตลาดออนไลน์ ขายง่าย ๆ แบบดีพร้อม” ภายใต้โครงการ 6.1-12 ส่งเสริมพัฒนาต่อยอดทักษะอาชีพดีพร้อม ด้วยการตลาดออนไลน์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยมี นางน้อมจิต มามะเริง ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมอุตสาหกรรมชุมชน เป็นผู้กล่าวรายงาน และได้รับเกียรติจาก นายชรินทร์ เปลี่ยนกระโทก นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลด่านเกวียน ให้เกียรติกล่าวต้อนรับ การฝึกอบรม จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-18 กันยายน 2567 รวมระยะเวลา 3 วัน โดยการให้ความรู้ทางด้านทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติ ณ สำนักงานเทศบาลตำบลด่านเกวียน อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายโอกาสทางการตลาดด้วยช่องทางการจำหน่ายออนไลน์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าได้อย่างเหมาะสม สามารถนำไปต่อยอดในการประกอบธุรกิจ และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน เกิดรายได้และเงินหมุนเวียนในชุมชน ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 20 คน
16 ก.ย. 2567
ดีพร้อม เซ็นเตอร์ 6 ติดตามการดำเนินกิจกรรมและรับฟังความต้องการผู้ประกอบการกิจกรรมการพัฒนาการรวมกลุ่ม (คลัสเตอร์เกษตรและอาหารแปรรูป)
DIPROM CENTER 6 ติดตามการดำเนินกิจกรรมและรับฟังความต้องการผู้ประกอบการกิจกรรมการพัฒนาการรวมกลุ่ม (คลัสเตอร์เกษตรและอาหารแปรรูป) จ.บุรีรัมย์ ปีที่ 1 งบประมาณ 2567 ระหว่างวันที่ 11-13 กันยายน 2567 นางคนึงนิจ ทยายุทธ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 มอบหมายให้คณะกรรมการตรวจรับพัสดุฯ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินกิจกรรม และรับฟังความต้องการของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรม การรวมกลุ่มและเชื่อมโยงอุตสาหกรรมคลัสเตอร์เกษตรและอาหาร แปรรูปปีที่ 1 จ.บุรีรัมย์ จำนวน 6 กิจการ ประกอบด้วย บริษัท แอ๊ดวานซ์ เอเซีย เอ็นเนอร์จี้ จำกัด จ.นครราชสีมา บริษัท สาพีไบโอเทค จำกัด จ.บุรีรัมย์ เครือข่ายโคดำบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์ วิสาหกิจชุมชนบ้านหนองหว้า จ.บุรีรัมย์ วิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงแพะนม บ้านเขายายเที่ยงใต้ จ.นครราชสีมา เอ็น วี เค ฟาร์ม จ.นครราชสีมา ผู้ประกอบการมีความต้องการ ประกอบด้วย การส่งเสริมการขายสินค้า การวิเคราะห์งบการเงิน บัญชี เงินทุนดอกเบี้ยต่ำ ที่ปรึกษาด้านการเงิน การเจรจาธุรกิจ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้ประกอบการด้วยกันในการหาเครือข่ายร่วมเชื่อมโยงจับคู่ธุรกิจ เพื่อพัฒนาต่อไป รายชื่อเจ้าหน้าที่ ประกอบด้วย นางสาวทิษฏยา วงศ์ธวัชนุกูล นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการพิเศษ นางสาวยุพา งานฉมัง นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการ นางวารุณี ผ่องแผ้ว นักวิชาการอุตสาหกรรม นางสาวนฤมล นีระพันธ์ นักวิชาการอุตสาหกรรม และ นายยงชัย เศรฐญาติ พนักงานขับรถยนต์ราชการ
13 ก.ย. 2567
ดีพร้อม เซ็นเตอร์ 6 ติดตามผลการดำเนินกิจกรรม Circular Enterprise (BCG)
DIPROM CENTER 6 ติดตามผลการดำเนินกิจกรรม Circular Enterprise (BCG) วันที่ 11-13 กันยายน 2567 นางคนึงนิจ ทยายุทธ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 มอบหมายให้ นางน้อมจิต มามะเริง นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการพิเศษ นายดำรงศักดิ์ บุญกลาง เจ้าหน้าที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมอาวุโส นางสาวกมลรัตน์ ศรีประเสริฐ นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการ นางสาววิสสุตา อำพลผล นักวิชาการอุตสาหกรรมปฏิบัติการ และ นายยุทธนา เพชรน้อย นักวิชาการอุตสาหกรรม ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินกิจกรรมการเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการธุรกิจด้วยโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Enterprise) ภายใต้โครงการการยกระดับธุรกิจ SMEs ด้วยการประยุกต์ใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 5 กิจการ ดังนี้ 1. บริษัท อีสานใต้แดรี่ จำกัด (อ.ปราสาท จ.สุรินทร์) 2. บริษัท ปุ๋ยตรากุญแจ จำกัด (อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์) 3. บริษัท แป้งไทยไบโอ จำกัด (อ.เสิงสาง จ.นครราชสีมา) 4. บริษัท นีสเทิร์น สตีล จำกัด (อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.นครราชสีมา) 5. บริษัท ซีวายวาย กรีนพาวเวอร์ จำกัด (อ.ขามทะเลสอ จ.นครราชสีมา)
13 ก.ย. 2567
ดีพร้อม เซ็นเตอร์ 6 เปิดบ้าน เพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตร ภายใต้ศูนย์ ITC
✨ DIPROM CENTER 6 ✨ เปิดบ้าน เพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตร ภายใต้ศูนย์ ITC ⏰ วันที่ 12 กันยายน 2567⛳ นางคนึงนิจ ทยายุทธ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 มอบหมายให้ เจ้าหน้าที่ กธ.ศภ.6 กสอ. ⚙️ ให้คำแนะนำและให้บริการเครื่องจักรกลาง ในการแปรรูป “ไข่ผำ” เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตร โดยใช้เครื่อง Freeze Dry และเครื่องซีนสุญญากาศบรรจุต้นหอมอบแห้ง ให้แก่กลุ่มเกษตรชุมชนบ้านมะค่า ต.บ้านโพธิ์ อ.เมือง จ.นครราชสีมา
12 ก.ย. 2567
ดีพร้อม เซ็นเตอร์ 6 ติดตามผลการดำเนินโครงการการยกระดับสินค้าเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรม และโครงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ฯ
♻️ DIPROM CENTER 6 ♻️ ติดตามผลการดำเนินโครงการการยกระดับสินค้าเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรม และโครงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ฯ ⌚️ ระหว่างวันที่ 9-10 กันยายน 2567⛳ นางคนึงนิจ ทยายุทธ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 มอบหมายให้ นางสาวทิษฏิยา วงศ์ธวัชนุกูล นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการพิเศษ นายสุขสันติ์ ชัยชนะ นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการ นางสาวยุพา งานฉมัง นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการ นายยุทธนา เพชรน้อย นักวิชาการอุตสาหกรรม และ นายมงคล อ้นสมุทร พนักงานขับรถยนต์ราชการ ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินกิจกรรมพัฒนาเทคโนโลยีทุ่นแรงสำหรับเกษตรแปรรูปของชุมชน ภายใต้โครงการยกระดับสินค้าเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 3 กิจการ ดังนี้ - ร้านวากิวโคราช อ.สูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา (พัฒนาเครื่องสกินแพ็ค) - วิสาหกิจชุมชนโคเนื้อวากิวโคราช อ.สูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา (พัฒนาซองตัดแต่งกีบโค) - ธนาบ้านสวนฟาร์ม อ.พิมาย จ.นครราชสีมา (พัฒนาโดมอบแห้งแผงไข่พลังงานแสงอาทิตย์) ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินกิจกรรม ภายใต้โครงการ 13.1-1 การพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ระบบอัตโนมัติและดิจิทัล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 2 กิจการ ประกอบด้วย - บริษัท คริสตัล ไบโอเทคโนโลยี จำกัด อ.เมือง จ.นครราชสีมา (พัฒนาระบบเครื่องจักรบรรจุชาลงซองแบบกึ่งอัตโนมัติ) - หจก.โคราช แสงสุวรรณ พ็อตเทอร์รี่ อ.เมือง จ.นครราชสีมา (พัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลประมวลผลกระบวนการทำงานแบบเรียลไทม์)
10 ก.ย. 2567