ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 เดินทางเข้าตรวจเยี่ยมลูกหนี้เงินทุนหมุนเวียน ศภ.6 กสอ.
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 เดินทางเข้าตรวจเยี่ยมลูกหนี้เงินทุนหมุนเวียน ศภ.6 กสอ. เมื่อวันที่ 25 พ.ค. 2563 นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 ร่วมด้วย นายสมชาย จันทสิริพงศ์ นักวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ชำนาญการ นายอัฐศิลป์ โกมลวิสุทธิ์ นิติกร และ นายยงชัย เศรฐญาติ พนักงานขับรถราชการ ได้เดินทางเข้าตรวจเยี่ยมลูกหนี้เงินทุนหมุนเวียน ศภ.6 กสอ. จำนวน 2 ราย ได้แก่ นายเกียน ตุ่มประโคน ที่ต.ละเวี้ย อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ และนายอ้วน จารัตน์ ทีต.ตรำดม อ.ลำดวน จ.สุรินทร์ ผลการดำเนินการตรวจเยี่ยมลูกหนี้เงินทุนหมุนเวียน ได้ให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับ New Normal และการดำเนินธุรกิจผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อให้ลูกหนี้สามารถบริหารจัดการและดำเนินธุรกิจในช่วงสถานการณ์ Covid-19 ได้ การดำเนินการตรวจเยี่ยมดังกล่าว ได้ยึดตามมาตรการ Social Distancing อย่างเคร่งครัด
26 พ.ค. 2563
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 เข้าให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึก เรื่อง “การพัฒนากระบวนการผลิตผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติให้มีประสิทธิภาพตามมาตรฐาน”
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 เข้าให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึก เรื่อง “การพัฒนากระบวนการผลิตผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติให้มีประสิทธิภาพตามมาตรฐาน” ระหว่างวันที่ 25-29 พฤษภาคม 2563 ณ กลุ่มทอผ้าไหมบ้านผือ หมู่ที่ 2 ตำบลหนองหว้า อำเภอบัวลาย จังหวัดนครราชสีมา นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 มอบหมายให้ นายนิรันดร์ ปัญญาเศรษฐ นักวิชาการอุตสาหกรรม และ นายบารมี นาชิดศรสูงเนิน พนักงานขับรถราชการ ร่วมกับ นายสุเมธ สว่างศรี ผู้เชี่ยวชาญด้านการย้อมสีธรรมชาติ ให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึก เรื่อง “การพัฒนากระบวนการผลิตผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติ ให้มีประสิทธิภาพตามมาตรฐาน” ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพและยกระดับผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ OTOP อุตสาหกรรมชุมชน มีความเข้าใจและตระหนักถึงการผลิตที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานการผลิตหรือคำนึงถึงการผลิตที่มีคุณภาพ พร้อมทั้งสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างโอกาสในการเพิ่มรายได้ในการแข่งขันด้านการตลาด 2. เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการ OTOP ที่มีมาตรฐาน ให้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์ที่มีอัตลักษณ์สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ทั้งนี้ มีผู้ประกอบการเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 16 คน โดยได้นำพืชธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่น ได้แก่ ครั่ง ใบสัก ใบแก้ว ใบสบู่เลือด เปลือกประโหด เปลือกแก่นเข เป็นต้น มาทำการฝึกปฏิบัติในการย้อมสีธรรมชาติให้คงทนและปรับสีธรรมชาติให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดเพื่อเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์โดยวิธีธรรมชาติ หลังการฝึกอบรมกลุ่มมีองค์ความรู้ ทักษะพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้คุณภาพ มีมาตรฐานตรงตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน การดำเนินกิจกรรมดังกล่าว ได้ยึดตามมาตรการ Social Distancing อย่างเคร่งครัด
26 พ.ค. 2563
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 เร่งทำงานเชิงรุก หารือแนวทางในการพัฒนาผู้ประกอบการเกษตรแปรรูป
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 เร่งทำงานเชิงรุก หารือแนวทางในการพัฒนาผู้ประกอบการเกษตรแปรรูป วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม 2563 นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 มอบหมายให้ นางละเอียด มธุรส นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการพิเศษ (ผู้อำนวยการกลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ) นางอริศรา โชติชุ่ม นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ นางสาวกมลรัตน์ ศรีประเสริฐ นักวิชาการอุตสาหกรรมปฏิบัติการ และ นายปรีชา สิงหลสาย พนักงานขับรถราชการ หารือแนวทางในการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการสาขาเกษตรแปรรูป และการจัดฝึกอบรมการเพิ่มศักยภาพการผลิตในอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป ร่วมกับ > นางนันทะกาญน์ ยินดีรัมย์ ตำแหน่ง หัวหน้าสภาเกษตรกรจังหวัดนครราชสีมา > นางสาวสุนิตย์ษา ราชบุรี ตำแหน่ง นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ > นางสาววิมลวรรณ สาหล่า ตำแหน่ง นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ ผลการหารือ ทราบถึงลักษณะและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการจัดกิจกรรม ซึ่งแนวทางในการจัดฝึกอบรมควรเน้นด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์สู่เชิงพาณิชย์ ให้แก่เกษตรกรที่มีศักยภาพ
26 พ.ค. 2563
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 เร่งทำงานเชิงรุก หารือแนวทางในการพัฒนาผู้ประกอบการเกษตรแปรรูป
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 เร่งทำงานเชิงรุก หารือแนวทางในการพัฒนาผู้ประกอบการเกษตรแปรรูป วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม 2563 นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 มอบหมายให้ นางละเอียด มธุรส นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการพิเศษ (ผู้อำนวยการกลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ) นางอริศรา โชติชุ่ม นักจัดหารงานทั่วไปปฏิบัติการ และ นางสาวกมลรัตน์ ศรีประเสริฐ นักวิชาการอุตสาหกรรมปฏิบัติการ หารือแนวทางในการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการสาขาเกษตรแปรรูป และการจัดฝึกอบรมกลยุทธ์สินค้าออนไลน์ ร่วมกับ > คุณศรัณยพงศ์ อนิวัตกูลชัย ตำแหน่งรองประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 (กลุ่มนครชัยบุรินทร์) และ > ผู้ช่วยศาสตรจารย์ เอกราช หนูแก้ว ตำแหน่ง อาจารย์คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ผลการหารือ เสนอให้มีการยกระดับมาตรฐานและเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปสู่เชิงพาณิชย์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และขยายช่องทางในการตลาด สู่กลยุทธ์ทิศทางในการขายสินค้าออนไลน์
25 พ.ค. 2563
ศภ.6 กสอ. จัดกิจกรรม เพิ่มทักษะบุคลากรในอุตสาหกรรมผ่านศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม (Reskill) หลักสูตร "แนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่เชิงพาณิชย์ในอุตสาหกรรมและเกษตรแปรรูปด้วยเครื่องทอดสุญญากาศ"
ศภ.6 กสอ. จัดกิจกรรม เพิ่มทักษะบุคลากรในอุตสาหกรรมผ่านศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม (Reskill) หลักสูตร "แนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่เชิงพาณิชย์ในอุตสาหกรรมและเกษตรแปรรูปด้วยเครื่องทอดสุญญากาศ" ช่วงที่2 ระหว่าง 19-21พ.ค.2563 โดยมีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรและอาหารแปรรูปด้วยเทคโนโลยีและการเลือกใช้เทคโนโลยี่ที่เหมาะสมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ 2.เพื่อพัฒนาวิสาหกิจให้มีศักยภาพด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีพร้อมเข้าสู่สากลผ่านศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม (ITC) มีผู้ประกอบการเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 18 คน โดยผู้ประกอบการนำผลผลิตทางการเกษตรมาร่วมกิจกรรม ได้แก่ มะม่วง,ฟักทอง,กล้วย และมันเทศ สามารถต่อยอดผลิตภัณฑ์ ได้ 4 อย่าง ได้แก่ 1.กล้วยทอดใส้มะขาม 2.มันทอดสุญญากาศ 3.น้ำมะม่วง 4.น้ำเบอรี่ ซึ่งการฝึกอบรมในครั้งนี้ได้รับความพึงพอใจจากผู้รับบริการ คิดเป็น ร้อยละ 94.63
25 พ.ค. 2563
เปลี่ยนธุรกิจให้..ปัง..รวย..เปรี้ยง..ได้ที่นี่ ทีมศูนย์ภาค 6 พร้อม...
เปลี่ยนธุรกิจให้..ปัง..รวย..เปรี้ยง..ได้ที่นี่ ทีมศูนย์ภาค 6 พร้อม... ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 เร่งทำงานเชิงรุกแนะนำบริการและให้คำปรึกษาแนะนำ วิสาหกิจ ชญานิน สมุนไพร เลขที่ 1/3 ต.บัวใหญ่ อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา ผลิตสมุนไพรเพื่อสุขภาพเส้นผมและหนังศีรษะ วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม 2563 นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 มอบหมายให้ นายอุเทน โชติชัย นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการพิเศษ (ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม) นายแมนเดช มามะเริง นักวิชาการอุตสาหกรรม นางวารุณี ผ่องแผ้ว นักวิชาการอุตสาหกรรม นายวิรัตน์ กาแดง นักวิชาการอุตสาหกรรม นายยุทธนา เพชรน้อย นักวิชาการอุตสาหกรรม นางสาววิศณีย์ ขวัญสูงเนิน เจ้าหน้าที่วิเคราะห์โครงการ ผลการหารือและแนะนำบริการ (วิสาหกิจชญานินสมุนไพร) มีความต้องการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ เงินทุนหมุนเวียน และใช้บริการเครื่องจักรศูนย์ ITC การให้คำปรึกษาเชิงลึกเพื่อสร้างความพร้อมให้วิสาหกิจ (ดำเนินการเอง) จัดทำขั้นตอนการผลิต งบการเงินเพื่อบริหารธุรกิจ และจัดทำ (Plant Layout) การดำเนินการติดตามงานดังกล่าว ได้ยึดตามมาตรการ Social Distancing อย่างเคร่งครัด
22 พ.ค. 2563
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 เร่งทำงานเชิงรุกแนะนำบริการและกำกับติดตามงานจ้างที่ปรึกษาโครงการเพิ่มศักยภาพ ฯ เกษตรอุตสาหกรรม
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 เร่งทำงานเชิงรุกแนะนำบริการและกำกับติดตามงานจ้างที่ปรึกษาโครงการเพิ่มศักยภาพ ฯ เกษตรอุตสาหกรรม วันพุธที่ 20 พฤษภาคม 2563 นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 มอบหมายให้ นายอุเทน โชติชัย นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการพิเศษ (ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม) นางน้อมจิต มามะเริง นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการ นางวารุณี ผ่องแผ้ว นักวิชาการอุตสาหกรรม นายวิรัตน์ กาแดง นักวิชาการอุตสาหกรรม ติดตามการดำเนินงานโครงการเพิ่มศักยภาพ ฯ เกษตรอุตสาหกรรม และแนะนำบริการของศูนย์ภาค 6 ณ พื้นที่จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 2 กิจการ ได้แก่ 1. บริษัท เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ประเทศไทย จำกัด เลขที่ 182 ม.16 ต.นาดี อ.เมือง จ.สุรินทร์ ผู้ปลูกสวนไผ่กิมซุงและแปรรูปผลิตภัณฑ์ ที่ปรึกษาได้แก่ อ.มนญ์ญพัชญ์ เลิศสูงเนิน และทีมที่ปรึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ผลการติดตาม การฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในผลิตภัณฑ์หน่อไม้ในน้ำใบย่านางบรรจุกระป๋อง เป็นไปตามแผนงานที่กำหนด และผู้ประกอบการสนใจบริการ (ดำเนินการเอง) คือ การวิเคราะห์ตลาด เพื่อจัดทำแผนธุรกิจ และการทำตลาดผ่านช่องทาง Social Media 2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด พิพัฒน์สุรินทร์ เลขที่ 299 ม.6 ต.นอกเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ ผู้ผลิตน้ำเต้าหู้เพื่อสุขภาพพร้อมดื่ม ที่ปรึกษาได้แก่ ดร.ธนาวิทย์ กุลรัตนรักษ์ และทีมที่ปรึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ผลการติดตาม ขั้นตอนกระบวนการผลิต การปรับปรุงสถานที่ผลิต และการยืดอายุผลิตภัณฑ์ เป็นไปตามแผนงานที่กำหนด และผู้ประกอบการสนใจบริการ (ดำเนินการเอง) คือ การวิเคาะห์ตลาด เพื่อจัดทำแผนธุรกิจ การทำตลาดผ่านช่องทาง Social Media และการออกแบบ ตกแต่งหน้าร้านเพื่อขายสินค้า การดำเนินการติดตามงานดังกล่าว ได้ยึดตามมาตรการ Social Distancing อย่างเคร่งครัด
21 พ.ค. 2563
จุดไฟ เร่งความพร้อม OTOP ศภ.6 กสอ. ร่วมกับ สอจ.บร. เสริมแกร่ง OTOP รอโควิด-19 สงบ
จุดไฟ เร่งความพร้อม OTOP ศภ.6 กสอ. ร่วมกับ สอจ.บร. เสริมแกร่ง OTOP รอโควิด-19 สงบ นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 ส่งทีม กช.ศภ.6 กสอ. และวิทยากรรับเชิญ นายสุเมธ สว่างศรี ผู้เชี่ยวชาญด้านการย้อมสีธรรมชาติ เข้าให้ปรึกษาแนะนำเชิงลึก เรื่อง การพัฒนากระบวนการผลิตผ้าฝ้ายและผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติให้มีประสิทธิภาพตามมาตรฐาน ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพและยกระดับผู้ผลิต ผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ระหว่างวันที่ 18-22 พฤษภาคม 2563 ณ กลุ่มทอผ้าไหม-ผ้าฝ้ายบ้านโคกก่อง หมู่13ตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ จบ 5 วัน OTOP เราไปไกลอีกขั้น พร้อมยื่นมาตรฐาน มผช. กลุ่มมีองค์ความรู้ ทักษะพัฒนา ผลิตภัณฑ์ได้คุณภาพ มีมาตรฐาน การดำเนินการติดตามงานดังกล่าว ได้ยึดตามมาตรการ Social Distancing อย่างเคร่งครัด
21 พ.ค. 2563
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 เร่งทำงานเชิงรุก แบบ Outdoor
???? ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 เร่งทำงานเชิงรุก แบบ Outdoor⏰ วันพุธที่ 20 พฤษภาคม 2563⛳️ กบ.ศภ.6 กสอ. โดย ????️ นางละเอียด มธุรส นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการพิเศษ (ผู้อำนวยการกลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ) ????️ นายชัชวาลย์ ศรีหมื่นไวย์ เจ้าพนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมชำนาญงาน ????️ นางนินเนตร ปุ้มกระโทก และ น.ส.นิภาพร อุปมะ นักวิชาการอุตสาหกรรม ???? ลงพื้นที่ ประชาสัมพันธ์ ชี้แจงรายเอียดโครงการเพื่อคัดเลือกผู้ประกอบการเข้าร่วม กิจกรรมการวินิจฉัยสถานประกอบการและกิจกรรมการปรับปรุงกระบวนผลิตเพื่อเพิ่มผลิตภาพ (Process Transform) ณ บริษัท แม่เตี้ยฟูดส์โปรดักส์ จำกัด และ บริษัท ขุมเงินขุมทอง จำกัด อ. ปากช่อง จ.นครราชสีมา
21 พ.ค. 2563
สวนกระแส โควิด-19 ตลาดรองเท้าผ้าไทย รุกตลาดด้วยการขาย Online จากผู้ผลิตโดยตรง
สวนกระแส โควิด-19 ตลาดรองเท้าผ้าไทย รุกตลาดด้วยการขาย Online จากผู้ผลิตโดยตรง ศภ.6 กสอ. เร่งส่งทีมช่วยผู้ประกอบการเชิงรุก ผ่าวิกฤตไปด้วยกัน นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 ส่งทีม กช.ศภ.6 กสอ เคาะประตูบ้าน ส่งผู้ประกอบการ Live Facebook มุ่งขายออนไลน์ จากผลกระทบเศรษฐกิจจากการระบาดของโรคโควิด-19 ร้านค้า และห้างสรรพสินค้า ได้ปิด ส่งผลให้การค้าขายหยุดชงักผู้ประกอบการได้รับผลกระทบ ต้องเปลี่ยนช่องทางการจำหน่ายเป็น Online แต่ใช่ทุกคนจะทำได้ ศภ.6 กสอ. จึงเข้าช่วยเหลือผู้ประกอบการ กิจการ ก้องรองเท้าผ้าไทย โดย คุณจันทร์เพ็ง กาฬหว้า ลูกค้าเงินทุนหมุนเวียนและโครงการ Product Design โดยการแนะนำการ live Facebook และให้บริการแนะนำการถ่ายรูปและการจัดทำภาพเพื่อลงจำหน่ายด้วยโทรศัพท์มือถือให้กับผู้ประกอบการ จำนวน 2 ครั้ง ในวันที่ 12,15 พฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา จากการดำเนินการดังกล่าวทำให้ผู้ประกอบการ มียอดการสั่งซื้อเพิ่มขึ้น สวนกระแสเศรษฐกิจที่แรกเริ่มผู้ประกอบการถอดใจ เนื่องจากยอดขายลดลงจำนวนมาก จากการดำเนินการดังกล่าว ศภ.6 กสอ. จึงเร่งค้นหาความต้องการของผู้ประกอบการเพื่อให้บริการต่อไป การดำเนินการติดตามงานดังกล่าว ได้ยึดตามมาตรการ Social Distancing อย่างเคร่งครัด
20 พ.ค. 2563