ศภ.6 กสอ. เข้าร่วมเปิดทางอุตสาหกรรมมุ่ง BCC อัพเลเวลให้อุตสาหกรรม up cycling ร่วมกับ (กองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กส.กสอ.) ปั้นผลิตภัณฑ์จากของเสีย สู่ของสวย สร้างมูลค่าใหม่ในตลาดสินค้ารักษ์โลก
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 เข้าร่วมเปิดทางอุตสาหกรรมมุ่ง BCC อัพเลเวลให้อุตสาหกรรม up cycling ร่วมกับ (กองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กส.กสอ.) ปั้นผลิตภัณฑ์จากของเสีย สู่ของสวย สร้างมูลค่าใหม่ในตลาดสินค้ารักษ์โลก ในวันพฤหัสที่ 16 ธันวาคม 2564 นางวิประภา ผาคำ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาส่งเสริมอุตสาหกรรมชุมชน รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 มอบหมายให้ นางสาวภัคนิจ สรณารักษ์ นักวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ปฏิบัติการ นางสุนันทา ปราโมช ณ อยุธยา และ นายยงชัย เศรฐญาติ พนักงานขับรถยนต์ราชการ เข้าร่วมพิธีเปิด ชี้แจงโครงการและร่วมฟังสัมมนาในฐานะหน่วยงานร่วมโครงการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Creative Value Design in Circular Economy Fashion & Lifestyle) ประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2565 จัดขึ้น ณ พื้นที่ Siam Smile Space ชั้น 4 ศูนย์การค้าสยามดิสคัฟเวอรี ปทุมวัน กรุงเทพฯ โดย นายเจตนิพิฐ รอดภัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานเปิดโครงการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Creative Value Design in Circular Economy Fashion & Lifestyle) และมี นางวันเพ็ญ รัตนกังวาล ผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม กล่าวรายงาน รองอธิบดีนายเจตนิพิฐ เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม ได้เร่งขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) ตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยการลดสิ่งของเหลือใช้จากกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรม และใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม ได้เร่งพัฒนาผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมดังกล่าวให้มีโอกาสเติบโตในช่วงที่วิถีชีวิตของคนทั่วโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง พร้อมผลักดันโอกาสในด้านการเข้าถึงองค์ความรู้ ช่องทางการตลาด รวมทั้งนำนวัตกรรมมาต่อยอดของเหลือใช้ หรือ ธุรกิจที่ลดการใช้ทรัพยากร - พลังงาน เพิ่มมูลค่าบนช่องทางการค้าให้มากขึ้น ดังนั้น ดีพร้อม จึงได้จัดทำโครงการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Creative Value Design in Circular Economy Fashion & Lifestyles เพื่อส่งเสริมการนำความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และการออกแบบมาใช้ในการผลิตสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ เร่งผลักดันการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้าน “อัพไซคลิ่ง (Upcycling)” ซึ่งเป็นแนวทางการแปรรูป – ผสมผสานการใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) สิ่งเหลือใช้จากการผลิตสินค้าทั้งภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการและการท่องเที่ยว รวมไปถึงวัสดุเหลือใช้จากการอุปโภคและบริโภคในท้องถิ่น และวัสดุรีไซเคิลอื่น ๆ ให้กลายเป็นสินค้าหรือบริการที่มีมูลค่าเพิ่ม เพื่อเจาะตลาดธุรกิจและบริการรักษ์โลกที่ขณะนี้ผู้บริโภคให้ความสำคัญและมีอัตราการใช้จ่ายสินค้าที่มีความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมในปริมาณที่สูงขึ้น เจ้าหน้าที่ศูนย์ภาคได้ร่วมหารือ และพูดคุยกับนางสาวศิริกาญจน์ วันหะรับ นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการ กลุ่มพัฒนาบุคลากรอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และ ผู้ประกอบการตัวอย่าง นายณัฐวุฒิ ศรีอาจ วิสาหกิจชุมชนทุ่งเศรษฐีขอนแก่น ถึงแนวคิดของผลิตภัณฑ์ upcycle ผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้ กระเป๋าจากป้ายไวนิล เพื่อศึกษาเป็นแนวทางพัฒนาผลิตภัณฑ์ในโครงการ ของศูนย์ภาคที่ 6 ในปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ต่อไป
16 ธ.ค. 2564
ศภ.6 กสอ. ลงพื้นที่สัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกผู้สมัครเข้าร่วมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “ปั้นนักธุรกิจใหม่ คิดใหญ่แบบ SMART”
วันที่ 15-16 ธันวาคม 2564 นางวิประภา ผาคำ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาส่งเสริมอุตสาหกรรมชุมชน รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 มอบหมายให้ นางสาวประภาวดี มีนาเขตร ผู้อำนวยการกลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ และเจ้าหน้าที่ในกลุ่มงาน ลงพื้นที่สัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกผู้สมัครเข้าร่วมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “ปั้นนักธุรกิจใหม่ คิดใหญ่แบบ SMART” ภายใต้โครงการการเร่งการจัดตั้งและขยายธุรกิจของผู้ประกอบการอัจฉริยะ (NEC) โดยคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 35 คน การฝึกอบรมดังกล่าว กำหนดจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 20-25 ธันวาคม 2564 ณ โรงแรมเรย์ โฮเทล อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผู้ที่ต้องการเริ่มต้นประกอบธุรกิจ ให้มีองค์ความรู้ในการจัดตั้งธุรกิจ และมีแผนการดำเนินธุรกิจแบบมืออาชีพ รายชื่อเจ้าหน้าที่ร่วมสัมภาษณ์คัดเลือก นายสรรใจ ปัญญาทอง เจ้าพนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมชำนาญงาน นางสาวกมลรัตน์ ศรีประเสริฐ นักวิชาการอุตสาหกรรมปฏิบัติการ นางแหวนเพชร ทรงอาจ พนักงานเทคนิคอุตสาหกรรม ส3 และ นายปรีชา สิงหลสาย พนักงานขับรถยนต์ราชการ
15 ธ.ค. 2564
ศภ.6 กสอ. หารือกับองค์การสภาพัฒนาการค้าฮ่องกง
วันที่ 8 ธ.ค.64 เวลา 09.00 -10.00 น. ณ ห้องประชุมเสมา ศภ.6 กสอ. ** นางวิประภา ผาคำ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมอุตสาหกรรมชุมชน รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 พร้อมด้วย** นางสาวประภาวดี มีนาเขตร นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการ รักษาการผู้อำนวยการกลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ** นายดำรงศักดิ์ บุญกลาง เจ้าพนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมชำนาญงาน** นางสุนันทา ปราโมช ณ อยุธยา นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ < ร่วมหารือกับ คุณไดสึเขะ นากาจิมะ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด องค์การสภาพัฒนาการค้าฮ่องกง ถึงความร่วมมือระหว่างองค์การสภาพัฒนาการค้าฮ่องกง ในการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการในพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 โดยองค์การสภาพัฒนาการค้าฮ่องกง (Hong Kong Trade Development Council หรือ HKTDC) เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจของฮ่องกง ซึ่งมีภารกิจในการส่งเสริมการค้านอกประเทศของฮ่องกงทั้งในส่วนของสินค้าและการบริการเพื่อขยายธุรกิจในตลาดสากลและเพิ่มจำนวนบริษัทนานาชาติที่ใช้ฮ่องกงเป็นเวทีทางการค้าในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การจัดนิทรรศการนานาชาติ การประชุม งานจัดแสดงสินค้า และแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ เป็นต้น โดยมีสำนักงาน 50 กว่าแห่งทั่วโลก -- >>
08 ธ.ค. 2564
ศภ.6 กสอ. ร่วม กิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ​ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช​ บรมนาถบพิตร
๕ ธันวาคม วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ศภ.6 กสอ. น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ วันนี้ จังหวัดนครราชสีมา จัดกิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรโดยมี นางสาวสุทธารัตน์ รัตนสงคราม นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการและนางสาวปพิชญา มูกขุนทุด นักวิชาการอุตสาหกรรม ในนามของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 ร่วมพิธีทำบุญตักบาตร ถวายเป็นพระราชกุศล วันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จังหวัดนครราชสีมา ณ ลานหน้าอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
05 ธ.ค. 2564
บุคลากรดีพร้อม ศภ.6 กสอ. "น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ”
บุคลากรดีพร้อม ศภ.6 กสอ. "น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ&rdquo; วันที่ 3 ธันวาคม 2564 เวลา 10.00-12.00 น. ** นางวิประภา ผาคำ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมอุตสาหกรรมชุมชน รักษาราชการแทนผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 นำคณะเจ้าหน้าที่ ศภ.6 กสอ. กล่าวคำน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ และกิจกรรมจิตอาสา : ปรับภูมิทัศน์และทำความสะอาดบริเวณด้านหน้าที่ทำการ (ริมถนนมิตรภาพ) และด้านหน้าที่ทำการ ศภ.6 กสอ. เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2564
04 ธ.ค. 2564
ศภ.6 กสอ. จัดกิจกรรม "ปั้นนักธุรกิจเกษตรในยุคเศรษฐกิจวิถีใหม่ ไขเดียผลิตภัณฑ์ให้ปังแบบ Next Normal "
ปั้นนักธุรกิจเกษตรในยุคเศรษฐกิจวิถีใหม่ ไขเดียผลิตภัณฑ์ให้ปังแบบ Next Normal วันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ "ปั้นนักธุรกิจเกษตร ในยุคเศรษฐกิจวิถีใหม่ (Agro Product Idea Camp)" ภายใต้โครงการเสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสู่การแข่งขันเศรษฐกิจวิถีใหม่ ประจำปีงบประมาณ 2565 โดยมี นางสาวประภาวดี มีนาเขตร ผู้อำนวยการกลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ เป็นผู้กล่าวรายงาน และผู้มีเกียรติที่เข้าร่วมในพิธีเปิด ได้แก่ นายอภิศักดิ์ อังคสิทธิ์ ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดบุรีรัมย์ และ นายเติมศักดิ์ บุญชื่น ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดนครราชสีมา การฝึกอบรมในครั้งนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน - 2 ธันวาคม 2564 (รวม 4 วัน) ณ โรงแรมแมนดาริน โกลเด้น วัลเล่ย์ เขาใหญ่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา มีผู้เข้าร่วมอบรมทั้งสิ้น 56 คน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการสู่นักธุรกิจเกษตร สามารถปรับตัวได้ในยุคเศรษฐกิจวิถีใหม่ และเกิดแนวคิดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ เพื่อต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ในตลาดเศรษฐกิจวิถีใหม่ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ประกอบการ SMEs, ผู้ประกอบการ OTOP, วิสาหกิจชุมชน และบุคลากรในภาคอุตสาหกรรม ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ เนื้อหาการฝึกอบรมประกอบด้วย - นักธุรกิจเกษตร เป็นได้ไม่ยาก - ปรับตัวอย่างไรในยุคเศรษฐกิจวิถีใหม่ - บรรยายหัวข้อ ปรับมุมมอง เปลี่ยนความคิด พิชิตเศรษฐกิจวิถีใหม่ - ไขไอเดียผลิตภัณฑ์ใหม่ ให้ได้ไปต่อ - สร้างแนวคิดพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่รองรับตลาดวิถีใหม่ ไม่ตกเทรน - เกษตรและอุตสาหกรรมเข้ากันอย่างไร - แปรรูปขั้นเทพด้วยนวัตกรรมและสร้างสรรค์ และ - ศึกษาดูงาน 2 แห่ง ได้แก่ บจก.แดรี่โฮม วิสาหกิจเพื่อชุมชน จ.นครราชสีมา และตลาดหัวปลี จ.สระบุรี รายชื่อเจ้าหน้าที่คณะผู้จัดฝึกอบรม นางสาวกมลรัตน์ ศรีประเสริฐ นักวิชาการอุตสาหกรรมปฏิบัติการ นางนินเนตร ปุ้มกระโทก นักวิชาการอุตสาหกรรม นางสาวนิภาพร อุปมะ นักวิชาการอุตสาหกรรม นางสาวแววมณี เกตแสนสี เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานฯ และ นายมงคล อ้นสมุทร พนักงานขับรถยนต์ราชการ ทั้งนี้ ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด-19 อย่างเคร่งครัด มีการตรวจ ATK และวัดอุณหภูมิ ทุกคนก่อนเข้างาน และให้สวมแมสตลอดเวลา
30 พ.ย. 2564
ศภ.6 กสอ. ดำเนินกิจกรรม " วันรักต้นไม้ประจำปีของชาติ ”
ต้นไม้มีค่า โปรดร่วมกันรักษา อย่าคิดทำลาย วันที่ 21 ตุลาคม 2564 เวลา 09.00 น. - 12.00 น. นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 พร้อมด้วย นางวิประภา ผาคำ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมอุตสาหกรรมชุมขน และเจ้าหน้าที่ ร่วมกันจัดกิจกรรมวันรักต้นไม้ประจำปีของชาติ พ.ศ. 2564 เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และเนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นการสร้างจิตสำนึกของประชาชนให้เกิดความรัก ความหวงแหนทรัพยากรป่าไม้ของชาติมาโดยต่อเนื่องทุกปี ตามที่ ครม. ได้มีมติเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2533 อนุมัติให้วันที่ 21 ตุลาคม ของทุกปีเป็น &ldquo;วันรักต้นไม้ประจำปีของชาติ&rdquo; โดยร่วมกัน บำรุงต้นไม้ กำจัดวัชพืช ตัดแต่งกิ่งต้นไม้ พรวนดิน และปลูกต้นไม้ภายในบริเวณศูนย์
21 ต.ค. 2564
ศภ.6 กสอ. รวมพลัง สานกำลังใจ ช่วยผู้ประกอบการผ่านพ้นวิกฤต
รวมพลัง สานกำลังใจ ช่วยผู้ประกอบการผ่านพ้นวิกฤต วันที่ 8 ตุลาคม 2564 นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จำนวน 19 คน มอบชุดข้าวสาร อาหารแห้ง น้ำดื่ม แอลกอฮอล์ และสินค้าอุปโภคบริโภค ที่ได้รับความอนุเคราะห์จากผู้ประกอบการในพื้นที่นครชัยบุรินทร์ (นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์) ให้แก่ผู้ประกอบการที่ประสบอุทกภัย จำนวน 2 กิจการ 1. บริษัท แสวงพัฒน์ จำกั 2. โรงหมี่อุดมศักดิ์พาณิชย์ และร่วม Big cleaning day ณ โรงหมี่อุดมศักดิ์พาณิชย์ ต.บ้านเพชร อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ การดำเนินการดังกล่าวได้ยึดมาตรการ Social Distancing อย่างเคร่งครัด
08 ต.ค. 2564
ศภ.6 กสอ. เร่งสร้างนักออกแบบในพื้นที่เพื่อเตรียมความพร้อมดำเนินการ ศูนย์ Thai-IDC Local Designer
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 เร่งสร้างนักออกแบบในพื้นที่เพื่อเตรียมความพร้อมดำเนินการ ศูนย์ Thai-IDC Local Designer #1 -->> ก้าวแรกเพื่อเริ่มต้น การสร้างนักออกแบบ ด้านแฟชั่นไลฟ์สไตล์และสิ่งทอ ให้เกิดในท้องถิ่น โดยการพัฒนาจากกลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรม จำนวน 34 ราย จาก1.ผู้ประกอบการ ทายาทธุรกิจ และผู้สนใจทำธุรกิจ ด้านแฟชั่นไลฟ์สไตล์และสิ่งทอในพื้นที่2.อาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา สาขาที่เกี่ยวข้อง อาทิ ออกแบบผลิตภัณฑ์ นิเทศศาสตร์ เป็นต้น ในพื้นที่รับผิดชอบ ศภ.6 กสอ. จาก 4 มหาวิทยาลัย ได้แก่ 1.มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา 2.มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 3.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และ 4.มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล ในหลักสูตร เน้นการ Workshop เพื่อให้ได้กระบวนการคิด การลงมือทำ อย่างเป็นระบบทั้งด้านการจัดการ ศิลปะ วัฒนธรรม สู่กระบวนการออกแบบเเฟชั่นขั้นสูง การพัฒนาผลิตภัณฑ์การสร้างBRAND และการตลาด5P เเละบรรจุภัณฑ์ และการจัดการสินค้าเเฟชั่นเเละการพัฒนาสินค้าด้วยระบบเทรนด์โลก ตลอดการอบรมทั้ง 3 วัน ระหว่างวันที่ 1-3 ธันวาคม 2563 โดยผู้เข้ารับอบรมได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้จากทีมวิทยากร ทั้ง 5 ท่าน ได้แก่1. อาจารย์ภิรมย์ แก้วมณี2. อาจารย์พัชรินทร์ สังข์ขาว3. อาจารย์สินชัย เอื้ออัครวงษ์4. ผศ.เมตตา ดีเจริญ 5. ผศ.ดร.วิเชียร ก่อกิจกุศล [[ นอกจากได้เรียนรู้การฝึกปฏิบัติในห้องอบรมแล้ว ผู้เข้ารับการอบรมยังได้นำกระบวนการคิดมาฝึกในการพัฒนาผ้าอัตลักษณ์ของจังหวัดนครราชสีมา อาทิการนำวัตถุดิบผ้าไหมคุณภาพ แมวสีสวาด ผ้าเงี่ยงนางดำ มาผสมผสานกับดีไซน์การออกแบบ มาเป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์จากการอบรม ซึ่งได้รับคำแนะนำเพิ่มเติม จาก อาจารย์ภิรมย์ แก้วมณี และทีมวิทยากร สู่การวางแผนการผลิต ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ให้ทันในช่วงก่อนงานฉลองชัยชนะท่านท้าวสุรนารี เพื่อมอบให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา สวมใส่ในโอกาสต่างๆ นับเป็นการต่อยอดและพัฒนาทักษะของผู้เข้ารับการอบรมให้ก้าวสู่การเป็นนักออกแบบได้อย่างแท้จริง ]]<< การฝึกอบรมครั้งนี้ดำเนินการจัดโดย กลุ่มพัฒนาการส่งเสริมอุตสาหกรรมชุมชน ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 >>
03 ธ.ค. 2563
ศภ.6 กสอ. ประชุมบูรณาการแผนปฏิบัติงานในพื้นที่ "นครชัยบุรินทร์" ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
ศภ.6 กสอ. ประชุมบูรณาการแผนปฏิบัติงานในพื้นที่ "นครชัยบุรินทร์" ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 วันที่ 13 พฤศจิกายน 2563 ณ ห้องประชุมเสมา ศภ.6 กสอ.***นางสาวอัญชลีย์พร เขียวเกษม ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6*** [ [ [...ประชุมหารือแนวทางการดำเนินงาน เชื่อมโยงภารกิจ และบูรณาการการทำงานร่วมกับฝ่ายส่งเสริมอุตสาหกรรมจังหวัด "นครชัยบุรินทร์" ...] ] ] ประกอบด้วย นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสรินทร์ << เพื่อลดปัญหาความซ้ำซ้อนในการให้บริการและเกิดประโยชน์สูงสุดกับกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ >> โดยมี - นางรุ่งอรุณ เปี่ยมปัจจัย ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานภูมิภาค- นางละเอียด มธุรส ผู้อำนวยการกลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ- นายอุเทน โชติชัย ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรม- นางวิประภา ผาคำ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมอุตสาหกรรมชุมชน และเจ้าหน้าที่ ศภ.6 กสอ. ร่วมประชุมหารือในครั้งนี้ด้วย
14 พ.ย. 2563