บุคลากรดีพร้อมภาคที่ 6 ร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรม สืบสานประเพณีรำบวงสรวงท้าวสุรนารี (ย่าโม) ประจำปี 2565
"บุคลากรดีพร้อมภาคที่ 6 ร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรม สืบสานประเพณีรำบวงสรวงท้าวสุรนารี (ย่าโม) ประจำปี 2565" วันเสาร์ที่ 9 เมษายน 2565 เวลา 17.30 น. นางคนึงนิจ ทยายุทธ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 และคณะนางรำ บุคลากรดีพร้อมภาคที่ 6 รวมจำนวน 11 คน ประกอบด้วย นางสาวประภาวดี มีนาเขตร ผู้อำนวยการกลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ นางชนันนัทธ์ ช้างหมื่นไวย นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการ นางจารุวรรณ เอ็นดู เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน นางสุนันทา ปราโมช ณ อยุธยา นักจัดการงานทั่วไปปฏิบัติการ นางษรภัช แปวกระโทก พนักงานพิมพ์ ส.4 นางนินเนตร ปุ้มกระโทก นักวิชาการอุตสาหกรรม นางสาวรัชนก พรมสูงเนิน เจ้าหน้าที่วิเคราะห์โครงการ นางสาววิศนีย์ ขวัญสูงเนิน เจ้าหน้าที่วิเคราะห์โครงการ นางสาวชาติรส ชุ่มศรี เจ้าหน้าที่บริหารสินเชื่อ นางสาวแววมณี เกตแสนสี เจ้าหน้าที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมด้านบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ ร่วมกิจกรรมประเพณีรำบวงสรวงท้าวสุรนารี(ย่าโม) องค์ประจำอำเภอสูงเนิน ประจำปี 2565 โดยมีนายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานในพิธี มีผู้รำเป็นสตรี รวมจำนวน 340 คน ร่วมประกอบพิธีรำบวงสรวงถวายคุณย่าโม ทั้งนี้ เพื่อเป็นการรำลึกถึงวีรกรรมของท้าวสรุนารี หรือคุณย่าโม โดยการรำบวงสรวงเป็นการนำท่ารำในรูปแบบนาฏศิลป์ไทยมาตรฐาน และท่ารำในรูปแบบศิลปะพื้นบ้านโคราชมากำหนดเป็นท่ารำในครั้งนี้ พร้อมทั้งนำทำนองเพลง และเนื้อร้องมาผสมกับดนตรีมโหรีโคราช ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่น แบ่งออกเป็น 4 ช่วง โดย ช่วงแรก กระบวนท่าออกด้วยเพลงมอญพิมาย ที่มีจังหวะสนุกสนานเร้าใจ สะท้อนให้เห็นถึงการร่วมแรงร่วมใจกันของสตรีชาวนครราชสีมา เพื่อร่วมในงานอันเป็นมงคล ช่วงที่ 2 เป็นการรำบทเพื่อเทิดพระเกียรติ พระบรม ดชานุภาพของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พระบรมราชินี ด้วยเพลงลมพัดชายเขา ช่วงที่ 3 เป็นการตีบทเพลงทำนองสรภัญญะ เพื่อสดุดีวีรกรรมท่านท้าวสุรนารี และช่วงที่ 4 เป็นท่ารำประกอบกับท่วงทำนองเพลง พื้นบ้านโคราช แสดงถึงการเฉลิมฉลองอย่างสนุกสนานรื่นเริงของสตรีชาวนครราชสีมา โดยหญิงสาวผู้รำทุกคนต่างมีทวงท่าการรำเป็นไปอย่างพร้อมเพียงด้วยความอ่อนช้อยสวยงาม ในปีนี้ผู้รำทุกคนสวมใส่ชุดไทย ที่ทอจากผ้าเงี่ยงนางดำ สีกลีบบัว และสีอื่นๆ ที่มีสีสันสวยงามงดงาม เช่น สีส้ม สีเขียว สีแดง สีเหลือง และ สีฟ้า เป็นต้น ซึ่งผ้าเงี่ยงนางดำ เป็นผ้าทออัตลักษณ์ของชาวอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ที่ต้องการสืบทอดและอนุรักษ์ผ้าพื้นเมืองของบรรพบุรุษ การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปตามมาตรการคัดกรองเชื้อไวรัส จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
09 เม.ย. 2565
DIPROM CENTER 6 ลงพื้นที่ติดตามงานผู้เชี่ยวชาญ กิจกรรมพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรมอัฉริยะ พื้นที่จังหวัดนครราชสีมา
วันที่ 7-8 เมษายน 2565 ** นางคนึงนิจ ทยายุทธ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 มอบหมายให้ นางน้อมจิต มามะเริง นักวิชาการอุตสาหกรรมชำนาญการ นายชัชวาลย์ ศรีหมื่นไวย์ เจ้าพนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมอาวุโส นายดำรงศักดิ์ บุญกลาง เจ้าพนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมชำนาญงาน และ นายปรีชา สิงหลหลาย พนักงานขับรถยนต์ราชการ ลงพื้นที่ติดตามงานผู้เชี่ยวชาญ กิจกรรมพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรมอัฉริยะ พื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ภายใต้โครงการ 6.2-1 การยกระดับสินค้าเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 6 กิจการ ได้แก่1. บริษัท บริบูรณ์ฟาร์ จำกัด อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา2. บริษัท ชื่นฟาร์ม จำกัด อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา3. เบญจวรรณหมี่กุดจิก อ.กุดจิก จ.นครราชสีมา4. บริษัท พิชิตเฉาก๊วย จำกัด อ.เมือง จ.นครราชสีมา5. บริษัท บ้านย่าแฟคทอรี่ จำกัด อ.เมือง จ.นครราชสีมา6. บริษัท ฟารีนา จำกัด อ.เมือง จ.นครราชสีมา ผู้ประกอบการพึงพอใจเป็นอย่างมากที่ได้เข้าร่วมโครงการซึ่งเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจของผู้ประกอบการ ในด้านการผลิต ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตมากขึ้น สามารถเข้ามาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับธุรกิจได้อย่างดี และผู้ประกอบการขอขอบคุณมายังศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 เป็นอย่างมากที่มีโครงการดีๆให้เข้าร่วม และยินดีที่จะเข้าร่วมกิจกรรมอื่นๆต่อไป
08 เม.ย. 2565
DIPROM CENTER 6 เข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาจังหวัดนครราชสีมา
วันพุธที่ 6 เม.ย. 2565 เวลา 11.00 น. ผอ.ศภ.6 กสอ. เข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาจังหวัดนครราชสีมา ** โครงการจิตอาสาเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำลำคลองและการรื้อถอนสิ่งกีดขวางทางน้ำ ณ ลำน้ำลำตะคอง เขตเทศบาลนครนครราชสีมา โดย พลโท สวราชย์ แสงผล แม่ทัพภาคที่ 2 นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา พร้อมรองผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดและจิตอาสาพระราชทาน จังหวัดนครราชสีมา
06 เม.ย. 2565
DIPROM CENTER 6 ร่วมพิธีถวายราชสักการะ วางพานพุ่มดอกไม้สด ในงานพระราชพิธี “วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์” 6 เมษายน 2565
วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ วันที่ 6 เมษายน 2565 เวลา 07.00 น. นางคนึงนิจ ทยายุทธ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 นางสาวประภาวดี มีนาเขตร ผู้อำนวยการกลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ นางสาวนิภาพร อุปมะ นักวิชาการอุตสาหกรรม และ นายบารมี นาชิดศรสูงเนิน พนักงานขับรถยนต์ราชการ ** ร่วมพิธีถวายราชสักการะ วางพานพุ่มดอกไม้สด ในงานพระราชพิธี “วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์” 6 เมษายน 2565 ณ สโมสรร่วมเริงไชย ค่ายสุรนารี อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา วันจักรี (Chakri Memorial Day) ตรงกับวันที่ 6 เมษายนของทุกปี อันเนื่องมาจาก เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หรือพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงเสด็จปราบดาภิเษกขี้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีและเป็นวันครบรอบการก่อตั้งราชวงศ์จักรี อีกทั้งยังเริ่มก่อสร้างพระนครแห่งใหม่ในนาม กรุงเทพมหานครบวรรัตนโกสินทร์ ที่นับว่าเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ถัดจากกรุงธนบุรี ซึ่งเมื่อครั้งที่กรุงธนบุรีเป็นราชธานีนั้น มีอาณาบริเวณรวมทั้งสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้เป็นเมืองหลวงที่มีแม่น้ำไหลผ่านกลางเมือง ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเปลี่ยนนามใหม่ จาก กรุงเทพมหานครบวรรัตนโกสินทร์ เป็น กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์ ซึ่งช่วงเวลาตั้งแต่ก่อตั้งกรุงเทพมหานครฯ เมื่อปี พ.ศ. 2325 มักเรียกกันว่า สมัยรัตนโกสินทร์ ในวันนี้จึงถือเป็นวันสำคัญอีกวันหนึ่งที่พวกเราชาวไทยควรให้ความระลึกถึง กว่าจะมาเป็นสยามได้ในทุกวันนี้
06 เม.ย. 2565
DIPROM CENTER 6 จัดฝึกอบรมเชืงปฏิบัติการ หลักสูตร “การพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการธุรกิจ และการให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้นแก่ผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมให้ดีพร้อม”
วันที่ 4-5 เมษายน 2565 นางคนึงนิจ ทยายุทธ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 มอบหมายให้- นางสาวประภาวดี มีนาเขตร ผู้อำนวยการกลุ่มบริการธุรกิจอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ- นายสรรใจ ปัญญาทอง เจ้าพนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมชำนาญงาน- นางนินเนตร ปุ้มกระโทก นักวิชาการอุตสาหกรรม- นางสาวนิภาพร อุปมะ นักวิชาการอุตสาหกรรม- นางสาวแววมณี เกตแสนสี เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานพัฒนาอุตสาหกรรม และ- นายยงชัย เศรฐญาติ พนักงานขับรถยนต์ราชการ -> จัดฝึกอบรมเชืงปฏิบัติการ หลักสูตร “การพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการธุรกิจ และการให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้นแก่ผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมให้ดีพร้อม” (DIProm Consulting Industrial Business By SP Buriram) กิจกรรมยกระดับกลไกสนับสนุนการดำเนินธุรกิจด้วยเครือข่ายผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม (SP@N) ภายใต้โครงการ 5.1-2 การพัฒนาระบบส่งเสริม SME ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 -> ณ คลินิกให้บริการปรึกษาแนะนำ Clinic SME Buriam และสถานประกอบการพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 12 ราย ได้แก่1. จิราพรกระเป๋าผ้า ต.ถลุงเหล็ก อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ (กระเป๋าผ้า)2. ยุพินแปรรูปผ้า อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ (ของชำร่วย)3. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผ้าพื้นเมืองสวายเจก ต.สวายจีก อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ (แปรรูปผ้าพื้นเมืองเป็นของฝากของที่ระลึก)4. สวนสุดารัตน์ ต.ถลุงเหล็ก อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ (อ้อยคั้นน้ำ,น้ำตาลอ้อย)5. วิสาหกิจชุมชนเอาะระแอง ต.ปราสาท อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ (ลูกชิ้นเห็ด)6. นางสาวกุลนันท์ จันทรา ต.โนนเจริญ อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ (หน่อไม้ดอง)7. นางสาวแสงระวี ภูมิลามัย ต.คูเมือง อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์ (พริกทอด, เห็ดฟาง)8. นางสาวสมใจ อินทรี ต.ทุ่งวัง อ.สตึก จ.บุรีรัมย์ (ข้าวอินทรีย์)9. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนโรงเรียนชาวนาเกษตรอินทรีย์ชีวภาพ กลุ่ม 2 ต.โคกตูม อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ (ข้าวอินทรีย์)10. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรทฤษฎีใหม่ก้าหน้า ต.สะเดา อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ (ปลาส้ม, ข้าวอินทรีย์)11. นายกฤต อุไรรัมย์ ต.บ้านบัว อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ (ข้าวอินทรีย์หอมหมื่นลี้)12. พนิช เซรามิค คราฟท์ ต.หนองตาด อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ (เซรามิค) ->> อบรม ถ่ายทอดองค์ความรู้ ฝึกปฏิบัติ ให้คำปรึกษาแนะนำให้ความรู้ในการบริหารจัดการธุรกิจ และให้คำปรึกษาแนะนำในด้านต่างๆ ที่จำเป็นในการพัฒนา ปรับปรุง ธุรกิจอุตสาหกรรม แก่ผู้ประกอบการ และส่งต่อบริการระหว่างผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม (SP) และเชื่อมโยงหน่วยงานผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม (BDSP)ให้คำปรึกษาแนะนำโดยผู้ให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรม (SP) ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์
05 เม.ย. 2565